วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ผลรางวัลการประกวดภาพยนตร์สั้น เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 6

รางวัลชนะเลิศ:
กระเป๋านักเรียนของหงสา
ผู้กำกับ: ศุภโมก ศิลารักษ์


รางวัลรองชนะเลิศ:
Way to Blue
ผู้กำกับ: สุภาวดี ศรีภูธร


รางวัลขวัญใจกรรมการ:
จระเข้
ผู้กำกับ: สราวุธ อินทรหม
Made in Heaven
ผู้กำกับ: อมร หะริณนิติสุข


สำหรับภาพยนตร์สั้นที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมฉายในเทศกาล มีดังนี้

The Honeymoon Suit โดย ภาคภูมิ ตรีชัยรัศมี
Halp me! Help me! โดย ดิษพงศ์ วงศ์อร่าม
I’ll c you soon 2 โดย พิรชัช โชคประดับ
เรื่องเล็กน้อย โดย ชลธี อิสระธนสิทธิ์
ทะเลใจ โดย สุกัลยา ปะกัง
ปอบ โดย เสรีย์ หล้าชนบท
La via En Rose โดย อาภาพร ปลั่งสิริสุนทร
ทรานสิชันส์ โดย วินัย เตชะวิรัตน์ และ อัลเคย์
The Hostel Wall โดย สุริยา จริยาภิรัต

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

The 3rd Produire au Sud Film Workshop Bangkok


The 3rd Produire au Sud Film Workshop Bangkok
Oct 29- Nov 1, 2008



Created in Nantes (France) in 2000 by the Festival of 3 Continents, “Produire au Sud” is a workshop aimed at Asian, African and South American producers.
In fact, if the state of worldwide film production covers heteogeneous realities, the problems that must be overcome for the development of a full-length film are often similar.
The main goal of “Produire au Sud” is thus to help and support the producers of these specific geographical areas with the learning and fulfilment of their job.
It is undoubtedly in the viewpoint of exchanging tips, skills and ideas that the “Produire au Sud”workshops are taking place each year in Nantes during the Festival of 3 Continents but also abroad in the framework of several partnerships with some international film festivals.
It is thus with great pleasure that, for the third time, we are organising a workshop in Bangkok - an event that will be held in total partnership with the World Film Festival of Bangkok and the French Embassy in Bangkok.
Indeed, from October 29 to November 1, 2008, the “Produire au Sud” workshop will host six projects of full-length films currently in development – all these films being represented by their producers and directors.
For four days they will be surrounded by important figures of the European and Asian film industry in order to discuss the legal, financial and technical aspects at stake as far as coproduction is concerned. These talks will be completed by individual meetings.
If international film coproduction displays a real curiosity and desire for openness, it is however most of the time far from being a bed of roses. So, good luck to all partic



โครงการสัมมนา “โพรดุยร์ โอ ซุด กรุงเทพฯ” สำหรับผู้อำนวยการผลิตและผู้กำกับภาพยนตร์ เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกองทุนโพรดุยร์ โอ ซุด ประเทศฝรั่งเศส (เทศกาลภาพยนตร์ 3 ทวีป) เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ (World Film Festival of Bangkok) และสถานเอกอัครราชทูต ฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนโครงการผลิตภาพยนตร์ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้อำนวยการผลิตและผู้กำกับภาพยนตร์ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และศรีลังกา โดยการสัมมนาจะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ศึกษาปัจจัยรวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตและเผยแพร่ภาพยนตร์สู่ระดับสากล
โครงการที่คณะกรรมการพิจารณาว่าโดดเด่นที่สุดจะได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมสัมมนารอบสุดท้ายในเทศกาลภาพยนตร์ 3 ทวีป ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนพฤศจิกายน 2551


Seminar Venue:

สถานที่สัมมนา:

October 29- November 1, 2008
Nokia Ultra Screen 1, Paragon Cineplex, Siam Paragon Department Store

Speakers:

วิทยากร:
Elise Jalladeau: Producer
Miguel Machalski: Script Writer
Emilie Georges: Sales Agent


Selected Projects:

โปรเจ็คที่ได้รับเลือก:

Stratosphere (Thailand)
Producer: Hassaya Rimphanawat
Director: Patavee Viranuvat

I Carrie You Home (Thailand)
Producer: Thacksakorn Pradubpongsa
Director: Tongpong Chantarangkul

The Tour (Malaysia)
Producer: Joanna Lee
Director: Chris Chong

Shadows of Noon (The Philippines)
Producer: Elisse Aquino
Director: Ivy Universe Baldosa

Balaan (The Philippines)
Producer: Oscar Nava
Director: Ray Gibraltar

Remembrace (The Philippines)
Producer: Eloisa Espino-Sanchez
Director: Seymour Sanchez

กิจกรรม: Celebrity LOOK-ALIKE


วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Programme Schedule

Director's Programme note

เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯครั้งที่ 6 คับคั่งไปด้วยภาพยนตร์จากทั่วโลก รวบรวมผลงานของผู้กำกับชื่อดัง และงานของสายเลือดใหม่ที่กำลังจะขึ้นมาเป็นอนาคตของวงการภาพยนตร์ ด้วยเนื้อหาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสะท้อนเรื่องราวในสังคม-วัฒนธรรม การเมือง บทบันทึกประวัติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งถ่ายทอดปัจเจกทางความคิดของผู้สร้าง ผ่านทางภาษาภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทั้งหมดได้ทำการแบ่งหมวดหมู่ดังนี้

:: เอเชียร่วมสมัย ::
ภาพยนตร์จากภูมิภาคเอเชียนั้น โดดเด่นด้วยการสะท้อนประเด็นสังคมและการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ที่ผ่านการถ่ายทอดอย่างละมุนละไมและลึกซึ้งในรายละเอียด อาทิ Chants of Lotus โดยผู้กำกับสี่สาวจากอินโดนีเซีย พูดถึงผลกระทบของรอยต่อของคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม A Moment in June ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยของที่ถ่ายทอดตัวตนของสังคมหลายหลากมุมมอง และ Sell Out จากมาเลเซีย นำเสนอมุมมองที่เสียดสีสังคมบริโภคนิยม ผ่านเนื้อเรื่องที่แดกดันรายการเรียลลิตี้โชว์

:: ภาพยนตร์โลก ::
รวบรวมภาพยนตร์จากยุโรป อเมริกาเหนือ คาริบเบียน ตะวันออกกลาง ที่อัดแน่นไปด้วยหลากเนื้อหา หลายลีลาการนำเสนอ เช่น Eat, for this is my body จากประเทศเฮติ ที่มีลีลาของการนำเสนอแปลกใหม่เหนือจริง สะท้อนปัญหาการเมืองและความอดอยากของผู้คนที่เป็นผลจากยุคล่าอณานิคม Three Monkeys งานล่าสุดจากผู้กำกับฯออเตอร์ นูริ บิลเก้ เซย์ลันด์ จากตุรกี ถ่ายทอดกวียภาพบนแผ่นฟิล์มได้อย่างงดงาม New Age ผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกจาก เคเรน ซิตเตอร์ ศิลปินวิชวลอาร์ตหญิง ที่ท้าทายผู้ชมด้วยการบิดระนาบการเล่าเรื่องและความซับซ้อนของตัวละครจนแทบกะพริบตาไม่ได้ ครบรสกับ 2 อนิเมชั่น 2 สไตล์ Sita Sings the Blues งานน่ารักๆที่นำมหากาพย์รามเกียรติ์มาถ่ายทอดในมุมมองใหม่ ผ่านสายตาของผู้กำกับหญิงจากอเมริกา Waltz with Bashir อนิเมชั่นวิพากษ์สงครามจากอิสราเอล เที่รียกเสียงฮือฮามากที่สุดจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ครั้งที่ผ่านมา และ Cherry Blossoms-Hanami ถ่ายทอดเรื่องราวของครอบครัว สัจธรรมของชีวิต และความสัมพันธ์ของเพื่อนมนุษย์ ที่เปี่ยมด้วยความหอมหวนระคนเศร้า ส่งตรงจากประเทศเยอรมันนี


:: ละตินอเมริกา ::
ภาพยนตร์ในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา สร้างชื่อในเวทีโลกเสมอมา เอกลักษณ์ที่ทำให้ภาพยนตร์จากภูมิภาคนี้มีความโดดเด่น คือประเด็นเนื้อหาที่เฉพาะตัว และสไตล์การถ่ายทอดที่เปรียบได้กับอาหารจานเผ็ดร้อนแต่อุดมไปด้วยคุณค่า ปีนี้เทศกาลฯได้คัดเลือกผลงานจากละตินอเมริกาเพื่อนำเสนอให้แก่ผู้ชมชาวไทย ทั้งงานของผู้กำกับรุ่นใหม่ คือ The Headless Woman และ La Rabia จากประเทศอาร์เจนติน่า The Path จากคอสตาริกา The Sky, The Earth and The Rain จากชิลี และ The Watercolorist จากเปรู

รวมถึงผู้กำกับฯที่มีผลงานโดดเด่นอย่างยาวนาน คือโปรแกรมสดุดี เฮคเตอร์ บาเบนโก้ ผู้กำกับฯคนสำคัญของบราซิล ซึ่งภาพยนตร์ 3 เรื่องสำคัญที่จะทำการจัดฉายคือ Pixote, the Law of the Weakest ผลงานสร้างชื่อเรื่องแรก Kiss of The Spider Woman งานที่ทำในอเมริกาซึ่งทำให้เขาโด่งดังเป็นอย่างมาก และThe Past งานชิ้นล่าสุดที่นำแสดงโดย กาเอล การ์เซีย เบอร์นัล

:: โลตัสอวอร์ด ::
รางวัลโลตัสอวอร์ดเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่มอบให้กับผู้กำกับฯที่สร้างคุโณปการณ์ให้แก่วงการภาพยนตร์ ครั้งนี้เทศกาลฯได้มอบรางวัลให้กับ ชยาม เบเนกัล หนึ่งในผู้กำกับระดับปรมาจารย์ของอินเดีย ผู้เจนจัดในการถ่ายทอดเนื้อหาวิพากษ์สังคมอันหนักหน่วง ผ่านงานเมโลดรามาที่ลึกซึ่งกินใจ ทำให้ผลงานของท่านโดดเด่นและได้รับการกล่าวขวัญในอดีตถึงปัจจุบัน โดยภาพยนตร์ 5 เรื่องที่จัดฉายคือ Manthan(1976), Bhumika(1977), Mandi(1982), Samar(1998) และ Zubeidaa(2001)

:: รำลึกถึง ดีเร็ก จาร์มาน ::
ดีเร็ก จาร์มาน เป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ที่เรียกได้ว่าศิลปินได้อย่างแท้จริง จาร์มาน เชื่อมั่นในแนวทางของตัวเองอย่างแน่วแน่ งานของเขาได้ทำลายขนบต่างๆของภาพยนตร์มากมาย เกิดเป็นภาษาภาพยนตร์ของตนเองที่ทรงพลังไม่ต่างจากบทกวี อิทธิพลในงานของเขาได้ส่งต่อไปถึงผลงานในรุ่นหลังมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่า 14 ปีแล้ว ที่ ดีเร็ก จาร์มาน ได้เสียชีวิตไป เทศกาลฯได้ทำการรำลึกถึง โดยจัดฉายผลงานสำคัญจำนวน 3 เรื่อง คือ Caravaggio, Jubilee และ The Angelic Conversation รวมถึงสารคดีเรื่อง Derek ที่ทำโดย ทิลด้า สวินตัน และ ไอแซค จูเลี่ยน 2 ศิลปินที่ร่วมกันสร้างผลงานมากับ จาร์มาน เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่


:: ภาพยนตร์สารคดี ::
บทบันทึกซึ่งนำพาผู้ชมไปสัมผัสเรื่องราวต่างๆ ทั้งความเป็นไปของโลกและวัฒนธรรม เช่น 2 สารคดีดนตรีชั้นยอดที่ไม่ควรพลาด Shine a Light สารคดีบันทึกการแสดงคอนเสิร์ตอันยิ่งใหญ่ของวง The Rolling Stones กำกับโดย มาร์ติน สกอร์เซซี่ ที่ถึงแม้ไม่ใช่แฟนของ The Rolling Stones ก็น่าจะตื่นตากับลีลาการแสดงอันเร่าร้อนของพวกเขา เสมือนข้าไปอยู่ในเหตุการณ์จริง และ Return to Goree สารคดีติดตามนักดนตรีแอฟริกันที่โด่งดังมากในยุโรป Lady Kul El-Arab จากอิสราเอลบันทึกเรื่องของสาวอาหรับที่อยากเข้ามาประกวดนางงามอิสราเอลซึ่งนำความขัดแย้งมาสู่หมู่บ้านของเธอ Jerusalem the East Side Story ตีแผ่ปัญหาความขัดแย้งเรื้อรังของอิสราเอลและปาเลสไตน์ A Jihad for Love เรื่องราวของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อสิทธิของเพศที่สามในโลกอาหรับ Her Name is Sabine สารคดีเนื้อหาหนักหน่วง กำกับโดย ซองดรีน บอนแนร์ ดาราชื่อดังของฝรั่งเศส ถ่ายทอดเรื่องราวของน้องสาวออทิสติก รวมถึง Listener's Tale งานสารคดีทดลองเชิงกวีจากอินเดีย


:: ภาพยนตร์สั้น ::
ภาพยนตร์สั้นถือเป็นหลักไมล์สำคัญสู่หนทางสู่การทำภาพยนตร์ขนาดยาว ของผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญมามากมาย เทศกาลฯได้เลือกผลงานภาพยนตร์สั้นของผู้กำกับรุ่นใหม่ที่ฉายแววในอนาคต ที่รวมเอาไว้ทั้ง หนังสั้นนานาชาติ และหนังสั้นไทย รวมถึง 2 โปรแกรมใหญ่คือ All Human Beings Are Born Free and Equal... จากประเทศเยอรมันนี ซึ่งร่วมมือกับสถาบันเกอเธ่ และโปรแกรมภาพยนตร์สั้นจากเทศกาลภาพยนตร์สั้นผู้พิการ

:: นิว มีเดีย ::
โปรแกรมใหม่แกะกล่อง เพื่อตอบรับกระแสของสื่อมัลติมีเดียรูปแบบใหม่ ทั้งสื่อบันเทิงหรือแม้กระทั่งงานศิลปะ ที่กำลังรุกคืบเข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบัน เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯได้รับการสนับสนุนจาก บริติช เคาน์ซิล นำเอาโปรแกรม Graphic cities งานสื่อผสมที่ได้เดินทางไปจัดแสดงมาแล้วทั่วโลก มาทำการเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย รวมถึงเทศกาลฯได้ทำการทดลองนำเสนองานภาพยนตร์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต โดยเปิดให้เข้าชมตัวอย่างภาพยนตร์ที่จะเข้าฉายทางเวปไซต์ Youtube ที่ http://www.youtube.com/wffbkk

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551

WFFBKK 2008 Movies Lineup

รายชื่อภาพยนตร์ในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯครั้งที่ 6
แยกตามประเภทภาพยนตร์

Asian Contemporary
A Moment In June – Thailand
A Paralyzed Circus - Thailand
Chants of Lotus- Indonesia
Fiction - Indonesia
Hashi - Japan, Singapore, Malaysia
Me And Mine – Thailand
Quickie Express - Indonesia
Sell Out - Malaysia

Documentary
A Jihad For Love - USA
Coffee Faces - Germany, Brazil
Crystal Power - Thailand
Everything Has Its Time - Thailand
Dancing Alfonso - Israel
Derek – UK
Her Name Is Sabine – France
Jerusalem: The East Side Story - Palestine
Lady Kul El Arab - Israel
Out Of Focus - Israel
Return To Goree – Switzerland
Seven Dumpsters And A Corpse - Switzerland
Shine A Light - USA
Through the Eastern Gate - USA
Listener’s Tale - India
Word Within The Word - India


World Cinema
Adriana - Portugal
Angel – Sweden
Cherry Blossoms - Hanami - Germany
Eat, For This Is My Body - Haiti/France
La France - France
New Age - Netherlands
Sita Sings the Blues – USA
Summer Book - Turkey
That Day - Switzerland
Three Monkeys – Turkey
Two Lines - Turkey
Waltz With Bashir - Israel


Latin America
La Rabia - Argentina
The Headless Woman - Argentina
The Path - Costa Rica
The Sky, The Earth And The Rain - Chile
The Watercolorist – Peru


Tribute to Hector Babenco
Kiss of Spider Woman
The Past
Pixote: The Law of Wicked


Retrospective: Derek Jarman
The Angelic Conversation
Caravaggio
Jubilee


Tribute to Shyam Benegal
Manthan (1976)
Bhumika (1977)
Mandi (1982)
Samar (1998)
Zubeidaa (2001)

Short Films
Adults Only - Malaysia
All Human Beings Are Born Free and Equal 1 – Germany
All Human Beings Are Born Free and Equal 2 – Germany
Bracelet - Singapore
Flowers of Rawanda - Spain
Four Dishes – Singapore
G16G17 - Malaysia
Graphic Cities – UK
Lost And Found - Thailand
Manus Chanyong: One Night At Talaenggaeng Road – Thailand
Way - Thailand
Wind - Singapore
Wings of Blue Angel - Thailand
Disability Short Film Festival & Seminar - Thailand
Thai Short Film Programme
Chang Programme - Thailand
- Chang, Chang, Chang
- Mahout
- Mere Wife (animation)

ข่าวเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 6

มีอะไรในเทศกาลภาพยนตร์โลกฯ ครั้งที่ 6

เทศกาลภาพยนตร์โลกฯ ครั้งที่ 6 ซึ่งจะจัดขึ้นที่พารากอน ซินีเพล็กซ์ ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคมถึง 2 พฤศจิกายนนี้ คับคั่งด้วยภาพยนตร์คุณภาพจากทั่วทุกมุมโลกกว่า 60 เรื่อง พร้อมกิจกรรมด้านภาพยนตร์มากมาย ภาพยนตร์ไทย “A Moment in June” ได้รับเลือกเป็นหนังเปิดเทศกาล ส่วนหนังปิดเทศกาลเป็นสารคดีดัง “Shine A Light” บันทึกการแสดงสดของวงร็อคดัง โรลลิ่ง สโตน ผลงานล่าสุดของมาร์ติน สกอร์เซซี่

นายเกรียงศักดิ์ ศิลากอง ผู้อำนวยการเทศกาลภาพยนตร์โลกฯ ครั้งที่ 6 เปิดเผยรายละเอียดของภาพยนตร์ที่จะนำมาฉายในเทศกาลว่าแบ่งออกเป็น 8 สายหลักคือ ภาพยนตร์โลก ภาพยนตร์เอเชียร่วมสมัย ภาพยนตร์ลาตินอเมริกาที่น่าจับตามอง ภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์สั้น รวมงานโดดเด่นของ เฮคเตอร์ บาเบนโก้ รวมงานโดดเด่นของดีเร็ค จาร์มาน และรวมงานโดดเด่นของชยาม เบเนกัล ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวอินเดียที่จะได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติคุณ “โลตัส อวอร์ด” จากเทศกาลในปีนี้

สำหรับภาพยนตร์โดดเด่นที่ไม่ควรพลาดในเทศกาลภาพยนตร์โลกฯ ครั้งที่ 6 มีอาทิ “Eat, for this is my body” ภาพยนตร์เสียดสียุคล่าอาณานิคมจากประเทศเฮติ “Sita Sings the Blues” งานอนิเมชั่นสีสันสดใสจากประเทศอเมริกาที่นำเอามหากาพย์รามายณะมาเล่าใหม่ “Graphic cities” งานสื่อผสมสุดเก๋จากประเทศอังกฤษ และ ภาพยนตร์ส่งตรงจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ “Three Monkeys” ผลงานล่าสุดจากผู้กำกับ ออเตอร์ นูริ บิลเก้ เซย์ลัน จากตุรกี ที่พ่วงด้วยรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม กับ “The Headless Woman” จากอาร์เจนติน่า โดยผู้กำกับหญิง ลูเครเซีย มาร์เทล ซึ่งได้รับการกล่าวถึงไม่แพ้กัน

นอกจากนั้น ยังมีผลงานหาดูยากของสามผู้กำกับระดับตำนานจากสามมุมโลก เช่น “Manthan” และ “Bhumika” ของ ชยาม เบเนกัล หนึ่งในผู้กำกับระดับปรมาจารย์ของอินเดียผู้เจนจัดในการถ่ายทอดเนื้อหาวิพากษ์สังคม ซึ่งจะเดินทางมาร่วมเทศกาลด้วย “Derek” สารคดีชีวประวัติของดีเร็ค จาร์มาน ศิลปินและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งเสียชีวิตไปกว่า 14 ปีแล้วแต่ผลงานของเขายังคงทรงคุณค่าต่อโลกภาพยนตร์ในยุคปัจจุบัน และ “Kiss of the Spider Woman” ผลงานดังในยุค 80s ของเฮคเตอร์ บาเบนโก้ ผู้กำกับคนสำคัญของประเทศบราซิล สร้างจากบทประพันธ์ของ มานูเอล ปูอิก โดยฟิล์มภาพยนตร์เพิ่งได้รับการบูรณะใหม่ในปีนี้ หลังจากที่ไม่ได้เผยแพร่มากว่า 10 ปี

ส่วนภาพยนตร์เปิดเทศกาลในวันที่ 24 ตุลาคม 2551 เป็นการเปิดตัวรอบปฐมทัศน์ประเทศไทยของภาพยนตร์ไทย “A Moment in June” ผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ โอ-นัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล ผู้กำกับเลือดใหม่ความหวังของวงการภาพยนตร์ไทย ที่เคยสร้างชื่อเสียงจากภาพยนตร์สั้นเรื่อง Bicycles and Radios ที่เข้ารอบ 9 เรื่องสุดท้ายรางวัลออสการ์หนังนักเรียน (Student Oscars) เมื่อ พ.ศ. 2547

ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดประเด็นสังคมไทยร่วมสมัย ผ่านเรื่องราวของหลากหลายชีวิตที่เชื่อมโยงกันด้วยบทเพลงเศร้าโศก คับคั่งด้วยนักแสดงมากฝีมือ อาทิ ชาคริต แย้มนาม น้อย วงพรู เดือนเต็ม สาลิตุล สินินทรา บุญยศักดิ์ และ สุเชาว์ พงษ์วิไล ซึ่งได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมประกวดและฉายรอบปฐมทัศน์โลกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองปูซานครั้งที่ 13 ประเทศเกาหลี

“A Moment in June” เป็นผลผลิตจากโครงการสัมมนา“โพรดุยร์ โอ ซุด กรุงเทพฯ ครั้งที่ 1” ซึ่งจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์โลก ฯครั้งที่ 3 โดยโครงการทำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมสัมมนากับแหล่งเงินทุน ในเทศกาลภาพยนตร์ 3 ทวีป ที่เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2547

ปีนี้ เทศกาลภาพยนตร์โลก ฯ ร่วมกับพันธมิตรเก่า คือ กองทุนโพรดุยร์ โอ ซุด ประเทศฝรั่งเศส (เทศกาลภาพยนตร์ 3 ทวีป) และสถานเอกอัครราชทูต ฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย จัดโครงการสัมมนา “โพรดุยร์ โอ ซุด กรุงเทพฯครั้งที่ 3” ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 2พฤศจิกายน 2551 ณ โรงภาพยนตร์โนเกียอัลตร้าสกรีน 1 พารากอน ซินีเพล็กซ์ โดยยังคงเจตนารมณ์เพื่อพัฒนาและสนับสนุนโครงการผลิตภาพยนตร์ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้อำนวยการผลิตและผู้กำกับภาพยนตร์ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และศรีลังกา

ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ 12 คน จาก 6 โครงการที่ได้รับคัดเลือกจะเข้าร่วมสัมมนาและผู้จัดทำโครงการที่มีความโดดเด่น จะได้ไปเข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ 3 ทวีปที่เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนพฤศจิกายน 2551 เพื่อพบปะกับแหล่งเงินทุนต่อไป

ในสายภาพยนตร์สั้น ปีนี้เทศกาลได้จัดประกวดภาพยนตร์สั้นต่อเนื่องเป็นปีที่สอง โดยได้รับการตอบรับจากผู้สนใจ ส่งภาพยนตร์สั้นเข้ามาร่วมประกวดจำนวนมาก ผลการประกวดจะประกาศทางเวปไซต์และสื่อต่างๆในวันที่ 15 ตุลาคม ซึ่งภาพยนตร์สั้นที่ได้รับคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายจะได้ฉายในเทศกาลด้วย

หนึ่งในสีสรรโดดเด่นของเทศกาลครั้งนี้ คือภาพยนตร์ปิดเทศกาลในวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องดัง Shine a Light สารคดีบันทึกการแสดงสดของวงร็อคระดับตำนาน The Rolling Stones ผลงานล่าสุดของผู้กำกับดัง มาร์ติน สกอร์เซเซี่ จะฉายกลางแจ้งบริเวณลานพาร์คพารากอน ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ด้วยระบบเสียงเต็มรูปแบบ

นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมเสริมที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น การประกวด Celebrity Look Alike เชิญคนหน้าเหมือนนักแสดงมาประชันโฉมในวันปิดเทศกาล และ นิทรรศการโปสเตอร์ จากโครงการประกวดโปสเตอร์ของเทศกาลภาพยนตร์โลกฯ ที่มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 200 ชิ้น โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานโดดเด่น 24 ชิ้นสุดท้าย มาจัดแสดงบริเวณลานอินฟินิตฮอลล์ ชั้น 5 โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์

ในวันปิดเทศกาล จะมีการมอบรางวัลให้ผู้ชนะการประกวดหนังสั้น ผู้ชนะรางวัล Celebrity Look Alike

เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 6 จัดขึ้นที่โรงภาพยนตร์พารากอน ซินีเพล็กซ์ ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2551 บัตรเข้าชมราคา 100 บาท นักรียนนักศึกษาราคา 50 บาท

ร่วมจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น หนังสือพิมพ์ เดลี่ เอ็กซ์เพรส เนชั่น แชนแนล บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล๊กซ์ โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้าพารากอน ได้รับความร่วมมือจากสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ ในประเทศไทย สถาบันวัฒนธรรมฝรั่งเศส สถาบันเกอเธ่ และบริติช เคาน์ซิล มีพันธมิตรสื่อคือ นิตยสาร Bioscope นิตยสาร Happening และทรูวิชั่น

เชิญร่วมสนุกสนานกับหนึ่งในเทศกาลภาพยนตร์แห่งปีที่พลาดไม่ได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพยนตร์และกิจกรรมต่างๆ ดูได้ที่ www.worldfilmbkk.com